เมนู

มิคสิระแล้ว มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จออกไปในวันต้นแห่งเดือน
ปุสสะ (เดือนยี่) แล้ว ทรงยังการเสด็จเที่ยวจาริกไปในอันติมมณฑล ให้เสร็จ
สิ้นลงโดย 7 เดือน ตามนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง.
อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้เมื่อเสด็จเที่ยวไปในบรรดามณฑล
เหล่านั้นแห่งใดแห่งหนึ่ง ทรงปลดเปลื้องสัตว์เหล่านั้น ๆ ให้พ้นจากกิเลส
ทั้งหลาย ทรงประกอบสัตว์เหล่านั้น ๆ ไว้ ด้วยอริยผลมีโสดาปัตติผลเป็นต้น
เสด็จเที่ยวไปอยู่ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์เท่านั้น ดุจทรงเก็บกอกไม้เบญจ-
พรรณนานาชนิดอยู่ฉะนั้น.
ยังมีพุทธาจิณณะแม้อื่นอีก คือ :- ในเวลาจวนรุ่งสว่างทุก ๆ วัน
การทำพระนิพพานอันเป็นสุขสงบให้เป็นอารมณ์ เสด็จเข้าผลสมาบัติออกจาก
ผลสมาบัติแล้ว ทรงเข้าสมาบัติอันประกอบด้วยพระมหากรุณา ภายหลังจากนั้น
ก็ทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้พอจะแนะนำให้ตรัสรู้ได้ในหมื่นจักรวาล
ยังมีพุทธาจิณณะแม้อื่นอีก คือ :- การทรงทำปฏิสันถารกับพวก
อาคันตุกะเสียก่อน ทรงแสดงธรรม ด้วยอำนาจเรื่องที่เกิดขึ้น ครั้นโทษ
เกิดขึ้น ทรงบัญญัติสิกขาบท นี้เป็นพุทธาจิณณะ (ความเคยประพฤติมาของ
พระพุทธเจ้า) ดังพรรณนาฉะนี้แล.

[สาวกาจิณณะ ความเคยประพฤติมาของพระสาวก]


สาวกาจิณณะ (ความเคยประพฤติมาของพระสาวก) เป็นไฉน ? คือ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า (ยังทรงพระชนม์อยู่) มีการประชุม
(พระสาวก) 2 ครั้ง คือ เวลาก่อนเข้าพรรษาและวันเข้าพรรษา เพื่อเรียน
เอากรรมฐาน 1 เพื่อบอกคุณที่ตนได้บรรลุแก่ภิกษุผู้ออกพรรษามาแล้ว 1

เพื่อเรียนเอากรรมฐานที่สูง ๆ ขึ้นไป 1 นี้เป็นสาวกาจิณณะ (ความเคยประ-
พฤติมาของพระสาวก).
ส่วนในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงพุทธาจิณณะ
(ความเคยประพฤติมาของพระพุทธเจ้า) จึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า อาจิณฺณํ
โข ปเนตํ อานนฺท ตถาคตานํ
ดังนี้.
บทว่า อายาม แปลว่า เรามาไปกันเถิด.
บทว่า อปโลเกสฺสาม แปลว่า เราจักบอกลา (เวรัญชพราหมณ์)
เพื่อต้องการเที่ยวไปสู่ที่จาริก.
ศัพท์ว่า เอวํ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ยอมรับ.
คำว่า ภนฺเต นั่น เป็นชื่อเรียกด้วยความเคารพ. จะพูดว่า ถวาย
คำทูลตอบแด่พระศาสดา ดังนี้บ้าง ก็ใช้ได้.
สองบทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสิ ความว่า ท่านพระอานนท์ทูล
รับฟัง คือตั้งหน้าฟัง ได้ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดี. มีคำ
อธิบายว่า ทูลรับด้วยคำว่า เอวํ นี้.
ในคำว่า อถโข ภควา นิวาเสตฺวา นี้ ท่านพระอุบาลีมิได้กล่าว
ไว้ว่า เป็นเวลาเช้า หรือ เป็นเวลาเย็น. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทำภัตรกิจเสร็จแล้ว ทรงยับยั้งอยู่ตลอดเวลาเที่ยงวัน ให้ท่านพระอานนท์
เป็นปัจฉาสมณะ ทรงให้ถนนในพระนคร ตั้งต้นแต่ประตูพระนครไป รุ่งเรือง
ไปด้วยพระพุทธรัศมี ซึ่งมีช่อดุจสายทอง เสด็จเข้าไปโดยทางที่นิเวศน์ของ
เวรัญชพราหมณ์นั้นตั้งอยู่. ส่วนปริชนเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พอประทับยืน
อยู่ที่ประตูเรือนของเวรัญชพราหมณ์เท่านั้น ก็ได้แจ้งข่าวแก่พราหมณ์.


พราหมณ์หวนระลึกได้ แล้วก็เกิดความสังเวช จึงรีบลุกขึ้นสั่งให้จัดปูอาสนะ
ที่ควรแก่ค่ามาก ออกไปต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้า จงเสด็จเข้ามาทางนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จเข้าไป
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดปูไว้แล้ว. ลำดับนั้นแล เวรัญชพราหมณ์มีความ
ประสงค์จะเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้เข้าไปเฝ้าโดยทางที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับอยู่ จากที่ ๆ ตนยืนอยู่. คำเบื้องหน้าแต่นี้ไป มีใจความ
กระจ่างแล้วทั้งนั้น
[เวรัญชพราหมณ์ทูลเรื่องที่มิได้ถวายทานตลอดไตรมาส]
ก็ในคำที่พราหมณ์กราบทูลว่า อนึ่ง ไทยธรรมที่ควรจะถวายข้าพเจ้า
มิได้ถวาย มีคำอธิบายดังต่อไปนี้:-
ข้าพเจ้ายังไม่ได้ถวายไทยธรรมที่ควรจะถวาย มีอาทิอย่างนี้คือ ทุก ๆ
วัน ตลอดไตรมาส เวลาเช้าควรถวายยาคูและของควรเคี้ยว เวลาเที่ยงควร
ถวายขาทนียะโภชนียะ เวลาเย็นควรถวายบูชาสักการะ ด้วยวัตถุมีน้ำปานะที่
ปรุงชนิดต่าง ๆ มากมาย ของหอมและดอกไม้เป็นต้น แก่พระองค์ผู้ซึ่งข้าพเจ้า
นิมนต์ให้อยู่จำพรรษาแล้ว. ก็ในคำว่า ตญฺจ โข โน อสนฺตํ นี้ พึง
ทราบว่าเป็นลิงควิปัลลาส. ก็ในคำนี้มีใจความดังนี้ว่า ก็แล ไทยธรรมนั้น
ไม่มีอยู่แก่ข้าพเจ้าก็หามิได้. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นใจความในคำนี้อย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าพึงถวายของใด ๆ แก่พระองค์ ก็แล ของนั้นมิใช่จะไม่มี. คำว่า
โน ปิ อทาตุกมฺยตา ความว่า แม้ความไม่อยากถวายของข้าพเจ้า เหมือน
ของเหล่าชนผู้มีความตระหนี่ซึ่งมีอุปกรณ์แก่ทรัพย์ เครื่องปลื้มในมากมาย
ไม่อยากถวายฉะนั้น ก็ไม่มี. ภายในไตรมาสนี้ พระองค์จะพึงได้ไทยธรรม
นั้นจากไหน เพราะฆราวาสมีกิจมาก มีกรณียะมาก.



ในคำว่า ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา พหุกิจฺจา ฆราวาส นั้นมีการ
ประกอบความดังต่อไปนี้:- พราหมณี เมื่อจะตำหนิการอยู่ครองเรือน จึงได้
กราบทูลว่า เพราะการอยู่ครองเรือนมีกิจมาก ฉะนั้น ภายในไตรมาสนี้ เมื่อ
ไทยธรรม และความประสงค์จะถวายแม้มีอยู่ พระองค์พึงได้ไทยธรรมที่ข้าพเจ้า
จะพึงถวายแก่พระองค์แต่ที่ไหน คือพระองค์อาจได้ไทยธรรมนั้น จากที่ไหน
ได้ยินว่า เวรัญชพราหมณ์นั้น ย่อมไม่รู้ความที่ตนถูกมารดลใจ จึงได้สำคัญว่า
เราเกิดเป็นผู้มีสติหลงลืม เพราะกังวลอยู่ ด้วยการครองเรือน. เพราะฉะนั้น
พราหมณ์จึงได้กราบทูลอย่างนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา นี้ พึงทราบการ
ประกอบความอย่างนี้ว่า ภายในไตรมาสนี้ ข้าพเจ้าจะพึงถวายไทยธรรมอันใด
แด่พระองค์ ไทยธรรมอันนั้น ข้าพเจ้าจะพึงได้จากไหน ? เพราะว่า การอยู่
ครองเรือนมีกิจมาก.

[เวรัญชพราหมณ์ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเพื่อเสวยภัตตาหาร]


ครั้งนั้น พราหมณ์ดำริว่า ไฉนหนอ ไทยธรรมอันใด เป็นของอัน
เราจะพึงถวาย โดย 3 เดือน เราควรถวายไทยธรรมอันนั้นทั้งหมด โดย
วันเดียวเท่านั้น แล้ว จึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ ทรง
พระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพเจ้าเถิด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฺวาตนาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่
บุญกุศล และปีติปราโมทย์ซึ่งจะมีในวันพรุ่งนี้ ในเมื่อข้าพเจ้าได้กระทำ
สักการะในพระองค์.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำอาราธนาของพราหมณ์]


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตถาคต ทรงพระรำพึงว่า ถ้าเราจะ
ไม่รับคำอาราธนาไซร้ พราหมณ์และชาวเมืองเวรัญชา จะพึงติเตียน อย่างนี้